ประโยชน์และสรรพคุณของ"ใบย่านาง"
ใบย่านาง สมุนไพรไทย หาง่าย ราคาย่อมเยาว์ ต้นย่านางส่วนมากนิยมนำใบสดๆ มาคั้นกับน้ำ แล้วกรองเอากากออก หรือนำไปปั้นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้า แต่ควรจะปั้นเป็นช่วงๆ ไม่ควรปั่นครั้งเดียวจนละเอียด และควรใช้เวลาให้น้อยที่สุดเพื่อที่ความร้อนที่เกิดขึ้นในขณะปั่นจะได้ไม่ทำลายฤทธิ์เย็นของใบย่านาง ส่วนน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำเย็นเพื่อทำให้ดื่มง่ายขี้น น้ำสมุนไพรใบย่านางควรรับประทานทันทีหลังจากคั้นเสร็จ เพื่อลดการสูญเสียสารอาหาร ถ้าใส่ตู้เย็นจะเก็บไว้ได้นาน 2-3 วัน หากมีรสเปรี้ยวควรทิ้งทันที นอกจากนี้การดื่มน้ำใบย่านางเหมือนเป็นการเพิ่มคลอโรฟิลล์ให้แก่ร่างกาย ช่วยฟื้นฟูเซลล์ ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย สำหรับผู้ที่ได้รับครีโมจากการรักษามะเร็ง น้ำสมุนไพรใบย่านางนับเป็นสมุนไพรแนะนำที่ช่วยดับความร้อนภายในร่างกายได้ดีมากเลยคะ
น้ำสมุนไพรใบย่านาง มีรสชาตเฝื่อนๆ กลิ่นเหม็นเขียวอ่อนๆ อาจทำให้รับประทานยากสำหรับผู้ดื่มครั้งแรก เราสามารถเพิ่มกลิ่นด้วยน้ำใบเตยหอม หรืออาจใส่น้ำตาลเล็กน้อยเพื่อช่วยเพิ่มรสชาตทำให้รับประทานง่ายขึ้น แต่หลังจากคุ้นเคยกับน้ำใบย่างนางแล้ว อาจค่อยๆลดปริมาณความหวานลงจนไม่ต้องใส่น้ำตาลจะดีที่สุดคะ เพื่อลดการเพิ่มปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดอันเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังสามารถใส่สมุนไพรชนิดอื่นเข้าไปด้วย เช่น ใบบัวบก หญ้าปักกิ่ง ใบอ่อมแซบ ช่วยเพิ่มรสชาตและคุณประโยชน์ทางยาได้อีกหลายเท่าตัว
ขอแนะนำสูตรน้ำสมุนไพรใบย่านาง ประกอบด้วย ใบย่านาง 50-100 กรัม ใบเตย 5 ใบ น้ำ 3 ถ้วย และน้ำเชื่อม น้ำผึ้งหรือน้ำหญ้าหวาน ปริมาณตามชอบ วิธีทำโดยนำใบเตยต้มกับน้ำจนเดือด แล้วยกลงพักให้เย็น (นำไปแช่ตู้เย็นก็ได้คะ) ล้างใบย่านางให้สะอาดนำไปปั้น พร้อมกับใส่น้ำใบเตยลงไป ใส่น้ำเชื่อม (หากไม่ชอบหวานก็ไม่ต้องใส่คะ) ปั่นหยุดเป็นช่วงๆ จนใบย่านางละเอียด ขั้นตอนสุดท้ายนำไปกรองเอาเฉพาะน้ำ นำมาดื่ม เราสามารถเพิ่มใบบัวบกสัก 1 กำ นำไปปั่นพร้อมใบย่านางก็ได้นะคะ
รู้สูตรการทำน้ำสมุนไพรใบย่านางกันแล้ว ก็มาทำความรู้จักกับต้นย่านาง (Bamboo grass / Tiliacora triandra / Bai-Ya-Nang) หรือที่ชาวอีสานเรียกว่า “หมื่นปี บ่ เฒ่า” ส่วนทางภาคกลางจะเรียกย่านางว่า “เถาย่านาง” เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้เป็นเถาไม้เลื้อยเกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น เป็นพืชไม้เลื้อย กิ่งอ่อน รากมีขนาดใหญ่ ใบสีเขียวเข้ม ทรงรูปไข่ ต้นย่านางมีฤทธิ์เย็น ช่วยดับพิษร้อนต่างๆได้ มีประโยชน์เกือบทุกส่วน ตั้งแต่ราก เอาไว้แก้พิษไข้ทุกชนิด อาการเบื่อเมาและยังเป็นส่วนประกอบของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร หรือยา 5 ราก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ใช้เป็นยาสมุนไพรในบัญชียาอีกด้วย สวนของใบย่านางนำมาทำมาอาหาร อย่าง แกงอ่อม แกงเห็ด หรือนำไปใส่หน่อไม้เพื่อต้านพิษกรดยูริกใน ยังมีสรรพคุณรักษาโรคต่างๆได้อีกมาก เช่น ความดันโลหิตสูง ช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด รักษาโรคตับอักเสบ โรคริดสีดวงทวาร โรคเกาต์ ช่วยฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการท้องเสีย โรคกรดไหลย้อน โรคไซนัสอักเสบ ช่วยชะลอริ้วรอยก่อนวัย แก้พิษแมลงกัดต่อย ฯลฯ เถาของต้นย่านางช่วยลดความร้อนและแก้พิษตานซาง ช่วยต้านมาลาเรีย ได้
น้ำสมุนไพรใบย่านางนั้น อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีนในปริมาณค่อนข้างสูง สามารถรับประทานได้ทุกวัน แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
คำแนะนำ
1.สำหรับบางคนที่รู้สึกว่ากินยาก เหม็นเขียว กินแล้วรู้สึกไม่สบายก็สามารถนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดแล้วนำมาดื่มหรือจะผสมกับน้ำสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ก็ได้ เช่น ขิง ตะไคร้ ขมิ้น หรือจะผสมกับน้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล หรือแม้แต่น้ำเฮลส์บลูบอยก็ได้เช่นกัน
2.ควรดื่มน้ำย่านางสด ๆ ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างประมาณครึ่งแก้ว 3 ครั้งต่อวัน
3.ควรดื่มแต่พอดี หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้ พะอืดพะอม ก็ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไปให้น้อยลงอีกจนเหมาะสมกับเรา
4.เมื่อทำเสร็จแล้วควรดื่มทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยวได้ แต่สามารถนำมาแช่ตู้เย็นได้ และควรดื่มภายใน 3 วัน
5.การพึ่งแต่สมุนไพรอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่คำตอบในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ดังนั้นควรทำอย่างอื่นเสริมไปด้วยจะช่วยให้มีประสิทธิภาพในการรักษามากยิ่งขึ้น
ที่มา: http://clinicherbs.com/bai-ya-nang https://medthai.com.com/ใบย่านาง