top of page

ผัก 6 ชนิด ที่ให้โทษเมื่อทานดิบๆ


การทานผักนั้น หลายๆคนคงทราบกันดีว่ามีประโยชน์มากมาย แต่เพื่อนๆทราบกันมั้ยคะว่าผักบางประเภทก็ให้โทษได้หากเรารับประทานไม่ถูกต้อง

วันนี้ OTTO KITCHEN CLUB นำสาระน่ารู้เกี่ยวกับ ผักดิบ 6 ชนิด ที่ทานดิบๆสดๆแล้วจะให้โทษเป็นอันตรายแก่ร่างกายได้ มาฝากกันค่ะ

• กะหล่ำปลี

ในกะหล่ำปลีดิบจะมีสารพิษที่เรียกว่า กอยโตรเจน (Goibrogen) ซึ่งเป็นสารที่จะไปกันไม่ให้ต่อมไทรอยด์จับไอโอดีน สร้างเป็น ฮอร์โมนไทร๊อกซิน (Thyroscine) ได้ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือ จะทำให้เกิดเป็นโรคคอหอยพอก แต่สารพิษเหล่านี้จะถูกทำลายได้ โดยการต้ม จึงควรรับประทานกะหล่ำปลีสุก จะดีกว่ากะหล่ำปลีดิบ ความจริงก็คือถ้าคนๆนั้น มีสภาวะไทรอยด์ก็ควรงดเพราะโอกาสจะเพิ่มอาการ ส่วนคนปกติทานเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก หรือลาบก็คงไม่มากเท่าไหร่ ยกเว้นทานเป็นกิโลๆ แต่ถ้าในระยะสั้นหากทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดเพราะอาหารไม่ย่อยได้ • ถั่วงอก ในถั่วงอกดิบจะมีไฟเตตสูง ซึ่ง ไฟเตดเป็นสารพิษที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบมากในพืชตระกูล ถั่ว เช่นถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว หรืองา เป็นต้น ซึ่งเมื่อกินถั่วงอกดิบเข้าไปจะ ไปจับแร่ธาตุบางชนิดที่อยู่ในอาหาร ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่านั้นได้ ร่างกายจะเป็นโรคขาดแร่ธาตุ สารพิษเหล่านี้สามารถทำลายได้โดยการต้ม ถ้าปรุงให้สุกไฟเตตจะสลายไป หรือมีปริมาณน้อยลง โอกาสที่ไฟเตตจะไปดูดซับแร่ธาตุต่าง ๆ จึงน้อยกว่าการรับประทานดิบ ๆ ดังนั้นเราจึงควรรับประทานถั่วงอกสุขดีกว่าถั่วงอกดิบ แต่ในความเป็นจริงเราต้องรับประทานจำนวนมากจึงเกิดการขัดขวางการดูดซึม ถ้าจะทานดิบก็ควรทานในปริมานพอเหมาะ • หน่อไม้ หน่อไม้ดิบมีสารที่จะเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ ที่เป็นพิษได้ ซึ่งถ้าร่างกายได้รับในปริมาณที่มากๆ จะทำให้เป็นโรคโบทูลิซึ่ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นหนักๆก็ไม่มีแรง หายใจเองไม่ได้ หมดสติ ถ้าช่วยไม่ทันก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นก่อนนำหน่อไม้มาปรุงอาหารหรือรับประทานควรต้มหน้อไม้ในน้ำเดือดนานเกิน 10 นาทีจึงจะปลอดภัยที่สุด ยิ่งลวกนานยิ่งดี เพื่อลดปริมาณไซยาไนด์ในหน่อไม้นั่นเอง

• มันสำปะหลัง รากของมันสำปะหลังดิบมีสาร limanarin ซึ่งสามารถย่อยเปลี่ยนรูป limanarin เป็นสารไซยาไนด์ ออกฤทธิ์ยับยั้งการหายใจระดับเซลล์ โดยยับยั้งการขนส่งอิเล็กตรอนในไมโตคอนเดรีย ทำให้เสียชีวิตได้ในเวลารวดเร็ว สารทั้งสองตัวจะถูกทำลายเมื่อนำมันสำปะหลังมาผ่านความร้อนทำให้สุกก่อนทาน

• ถั่วฝักยาว

ในถั่วฝักยาวดิบจะมีแก๊สค่อนข้างสูงโดยเฉพาะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งอาจทำให้ท้องอืดได้ เนื่องจากกระบวนการในการย่อยเมล็ดและเปลือกของถั่วฝักยาว โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ดังนั้นถั่วฝักยาวดิบจึงไม่เหมาะกับคนที่มีปัญหาการย่อยและผู้สูงอายุ

• ผักโขม

ไม่ควรกินดิบเพราะในผักโขมจะมีกรดชนิดหนึ่งชื่อว่า ออกเซลิค แอซิด ในปริมาณสูง ซึ่งจะส่งผลขัดขวางไม่ให้ร่างกายของเราดูดซึมธาตุเหล็กจากผักโขมได้ ดังนั้นเราควรรับประทานผักโขมสุกเพื่อลดปรมาณกรดดังดล่าว ร่างกายจะได้ดูดซึมธาตเหล็กจากผักโขมได้อย่างเต็มที่ ข้อมูลจาก: Thanakorn Lamsam

Recent Posts
Search By Tags
Archive
Follow Us
  • Facebook Basic Square
bottom of page